ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรอำเภอขุขันธ์

 

อำเภอขุขันธ์แบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 22 ตำบล 276 หมู่บ้าน ได้แก่

1.

กันทรารมย์

(Kanthararom)

14 หมู่บ้าน

   

12.

ตะเคียน

(Takhian)

12 หมู่บ้าน

2.

จะกง

(Chakong)

13 หมู่บ้าน

   

13.

นิคมพัฒนา

(Nikhom Phatthana)

11 หมู่บ้าน

3.

ใจดี

(Chai Di)

11 หมู่บ้าน

   

14.

โคกเพชร

(Khok Phet)

11 หมู่บ้าน

4.

ดองกำเม็ด

(Dong Kammet)

11 หมู่บ้าน

   

15.

ปราสาท

(Prasat)

9 หมู่บ้าน

5.

โสน

(Sano)

22 หมู่บ้าน

   

16.

สำโรงตาเจ็น

(Samrong Ta Chen)

17 หมู่บ้าน

6.

ปรือใหญ่

(Prue Yai)

20 หมู่บ้าน

   

17.

ห้วยสำราญ

(Huai Samran)

11 หมู่บ้าน

7.

สะเดาใหญ่

(Sadao Yai)

17 หมู่บ้าน

   

18.

กฤษณา

(Kritsana)

13 หมู่บ้าน

8.

ตาอุด

(Ta Ut)

9 หมู่บ้าน

   

19.

ลมศักดิ์

(Lom Sak)

11 หมู่บ้าน

9.

ห้วยเหนือ

(Huai Nuea)

14 หมู่บ้าน

   

20.

หนองฉลอง

(Nong Chalong)

10 หมู่บ้าน

10.

ห้วยใต้

(Huai Tai)

13 หมู่บ้าน

   

21.

ศรีตระกูล

(Si Trakun)

7 หมู่บ้าน

11.

หัวเสือ

(Hua Suea)

14 หมู่บ้าน

   

22.

ศรีสะอาด

(Si Sa-at)

9 หมู่บ้าน


ข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญ

          อำเภอขุขันธ์   มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 495,675 ไร่ เหมาะแก่การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำนา  โดยเฉพาะเป็นพื้นที่ทำนาปี จำนวนเกษตรกร  23,208 ราย  มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2558/2559 มีพื้นที่ปลูกข้าวรวม 373,156 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวเจ้า (ข้าวหอมมะลิ  105)  373,156 ไร่  ผลผลิตข้าวรวม 163,507 ตัน ผลผลิตข้าวเฉลี่ย  450 กิโลกรัมต่อไร่ และยังเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง  ยางพารา เป็นต้น

พืชเศรษฐกิจสำคัญ

          -  ข้าว  การทำนาเป็นอาชีพหลักของเกษตรกร  โดยข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอำเภอขุขันธ์    โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่เป็น ร้อยละ 80 เป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิ  105    ร้อยละ 15  เป็นพันธุ์  กข 15  และร้อยละ 5  เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองต่างๆ
          - มันสำปะหลัง   เป็นอีกพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มันสำปะหลังโรงงาน  ปลูกมากในพื้นที่ตำบลปรือใหญ่  และยังมีปลูกกระจัดกระจายในพื้นที่ตำบลอื่นๆอีกด้วย
          - ยางพารา  ปลูกมากในพื้นที่ตำบลปรือใหญ่  มีทั้งพื้นที่ ที่เปิดกรีดแล้ว  และยังไม่เปิดกรีด  ผลผลิตส่วนใหญ่จะเป็นยางถ้วย  หลายปีที่ผ่าน  ราคายางพาราตกต่ำมาก ทำให้ชาวสวนยางได้มีการปรับตัว  เพื่อหารายได้เสริมหลังจากการกรีดยาง เช่น  รับจ้างทั่วไป  ปลูกพืชอย่างอื่น  เป็นต้น  แต่ปัจจุบัน สถานการณ์ราคายางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเดิมบ้างแล้ว  แต่ต้นทุนในการเพาะปลูกก็ยังคงสูงเช่นเดิม 
          - อ้อยโรงงาน  ปลูกมาในพื้นที่ตำบลปรือใหญ่  ผลผลิตส่วนใหญ่ถูกป้อนไปยังโรงงานน้ำตาลสุรินทร์ 
         
ตารางแสดงข้อมูลพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอขุขันธ์  ปี  2559

ชนิดพืช

จำนวนครัวเรือนเกษตรกร (ราย)

เนื้อที่ปลูก
(ไร่)

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่

ราคาขายเฉลี่ย

หมายเหตุ

ข้าวนาปี

21,331

373,156

450  ก.ก.

8-9 บาท/ก.ก.

 

มันสำปะหลัง

1,535

12,488

3  ตัน

1.35 บาท/ก.ก.

 

ยางพารา

1,876

14,077

180 ก.ก.

36 บาท/ก.ก.

ยางแผ่น

อ้อยโรงงาน

54

503

12 ตัน

1 บาท/ก.ก.